Translate

Agoda1

Hotels Book

Hotels2thailand.com

Jobs

16.5.58

สวนสาธารณะปลายแหลม สะพานหิน




สวนสาธารณะปลายแหลม สะพานหิน

    อดีตกาล สะพานหินเป็นท่าเรือ จุดเทียบท่าจอดเรือ สำหรับขนส่งสินค้า เรือโดยสาร เป็นท่าเรือใหญ่ในการเดินทางในเขตทะเล อันดามัน

    ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของสะพานหิน เป็นบริเวณที่เรือขุดแร่ ลำแรกของโลกทำการขุดแร่ดีบุกจากอ่าวทุ่งคา ซึ่งเป็นทะเล บริเวณสะพานหิน ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกด้วย โดยผู้นำเรือขุดแร่ ดังกล่าวเข้ามา คือ กัปตัน เอ็ดเวิร์ด โธมัส ไมลส์ ชาว ออสเตรเลีย เมื่อ พศ.2452 ซึ่งภายหลัง ภายหลัง ส่งผลให้มีการสร้างเรือขุดแร่ขึ้น อย่างแพร่หลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จนกระทั่ง พศ. 2511 อธิบดีกรม มีความคิดที่จะให้มีสิ่งปลูกสร้าง เพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน ระลึกถึงการขุดแร่ด้วยเรือขุดแร่ลำแรกของโลก   จึงด้เปิดให้มีการ ประกวดออกแบบ มีผู้เข้าประกวดออกแบบทั้งสิ้น 6 ราย ทางคณะกรรมการพิจารณาเลือกแบบ ของนาย ชวลิต หัสพงษ์ มาดำเนินการก่อสร้างอนุสาวรีย์ โดยได้รับความช่วยเหลือจาก  บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ทินเดร็ดเบอร์ฮัด
(Tongkah Harbour Tin Dredging Co. Ltd) ที่ตั้งของ อนุสาวรีย์ดังกล่าว อยู่บริเวณ ริมหาดปลายแหลมสะพานหิน ณ ขณะนั้น


   สะพานหิน เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจภายในตัวเมืองจังหวัดภูเก็ต มีลักษณะเป็นชายหาดอยู่สุดถนนภูเก็ต ซึ่งยื่นลงไปในทะเลเล็กน้อย และเป็นที่ตั้ง ของอนุสาวรีย์หลัก 60 ปี ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2511 เพื่อเป็นที่ระลึกแก่กัปตันเอ็ดเวิร์ด โธมัสไมล์ ชาวออสเตรเลียผู้นำเรือขุดแร่ลำแรกมาใช้ขุดแร่ดีบุกในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2452 รวมทั้งเป็นที่ตั้งของศูนย์กีฬา สระว่ายน้ำ ศูนย์บริการคอมพิวเตอร์แก่ประชาชน ศูนย์เยาวชน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลนครภูเก็ต และศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง สถานที่สักการะพระนางกิ้วเที้ยนเลี่ยนลื้อ และใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีในเทศกาลกินผัก 

  ปัจจุบัน ทุกเย็นจะมีประชาชนคนภูเก็ตหรือนักท่องเที่ยว เข้ามานั่งเล่น บางออกกำลัง วิ่งเล่นและกระจายตามแหล่งศูนย์ โรงยิม สระว่ายน้ำ ตามแต่นิยมชมชอบ มาออกกำลังกายกัน
บางกลุ่มเอาเสื่อมาปู นั่งกิน เพราะช่วงเย็นมีพ่อค้าแม่ค้ามาตั้งแผง ค้าขายอาหาร เป็นต้น

                                                                                                      อ้างอิงข้อมูลบางส่วน จาก วิกิพีเดีย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น