ประวัติ ถนน ถลาง
เริ่มจาก ชาวโปรตุเกสได้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน และทำการค้า บริเวณเมืองมะละกา และนำเอาศิลปวัฒนธรรมตะวันตก เข้ามาสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ตามแบบของตน แต่การก่อสร้าง สร้างโดยช่างชาวจีน ลักษณะของสถาปัตยกรรมจึงออกมา เป็นแบบผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมโปรตุเกส กับ จีน
ช่างชาวจีนได้เพิ่มการตกแต่งลวดลายตามแบบฉบับ ชาวจีนที่เป็นไปตามความเชื่อ และเอกลักษณ์เฉพาะตัว ก่อให้ เกิดเอกลักษณ์เฉพาะ ท่ามกลาง สังคม 3 เชื้อชาติ ได้แก่ โปรตุเกส จีน และมาเลย์
ต่อมาชาว ดัตซ์ และชาวอังกฤษเข้ามา ก็ได้ปรับปรุงอาคารโดยดัดแปลงและเพิ่มลวดลาย และมีชื่อเรียกสถาปัตยกรรม " จีน - โปรตุเกส "
คำว่า "Sino" หมายถึง คนจีน
คำว่า " Portuguese " หมายถึง โปรตุเกส
อาคารเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นมา โดยนักธุรกิจชาวจีน ที่ทำเหมืองแร่ ดีบุก ใน สมัย ของ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ซึ่งเป็นสมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการ มณฑลภูเก็ต ในช่วงปี พ.ศ. 2444 - 2456 ในสมัย รัชกาลที่ 5
ภูเก็ตสมัยนั้น มีการค้ากับ ทางปีนัง (มาเลเซีย)
ปี พศ 2537 ทางเทศบาลภูเก็ต รวมทั้งหน่วยงาน ภาครัฐ และเอกชน องค์กรท้องถิ่นเมืองภูเก็ต ได้ร่วมกันพัฒนา อนุรักษ์ ถนนถลาง และย่านเมืองเก่า มีการกำหนด พื้นที่ 210 ไร่ โดยประมาณครอบคลุม ถนนรัษฎา ถนนพังงา ถนนเยาวราช ถนนกระบี่ ถนนดีบุก ถนนถลาง ถนนเทพกระษัตรี เป็นพื้นที่อนุรักษ์
ซอย รมณีย์ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น